วัตถุประสงค์
เนื้อหา
การจัดทำผลประโยชน์พนักงานสำหรับนักบัญชี
- แนวคิดเกี่ยวกับผลประโยชน์พนักงาน
เพื่อกำหนดวิธีการบัญชีและการเปิดเผยข้อมูลของผลประโยชน์พนักงานโดยกิจการจะต้องรู้ ทั้งหนี้สิน (เมื่อพนักงานได้ให้บริหารเพื่อและเปลี่ยนกับผลประโยชน์ของพนักงานที่จะได้รับในอนาคต) และค่าใช้จ่าย (เมื่อกิจการได้รับผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่เกิดจากการให้บริการของพนักงานเพื่อแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์ของพนักงาน)
- ประเภทและรูปแบบของผลประโยชน์ของพนักงาน
- ผลประโยชน์ระยะสั้น คาดว่าจะจ่ายชำระทั้งจำนวนก่อน 12 เดือน ได้แก่ ค่าจ้าง เงินเดือน โบนัส ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น
- ผลประโยชน์หลังออกจากงาน จ่ายหลังจากการจ้างสิ้นสุดลง ได้แก่ บำนาญ ค่ารักษาพยาบาลหลังออกจากงาน เป็นต้น
- ผลประโยชน์ระยะยาวอื่น เช่น การลางานระยะยาวที่ยังได้รับผลตอบแทน ผลประโยชน์ที่จ่ายจากการทำงานครบ 50 ปี หรือผลประโยชน์อื่นที่จ่ายจากการทำงานเป็นระยะเวลานาน ผลประโยชน์ที่จ่ายจากการทุพพลภาพเป็นระยะเวลานาน
- ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง หมายถึง ผลประโยชน์ของพนักงานที่ให้เพื่อแลกเปลี่ยนกับการเลิกจ้างงานของพนักงาน ซึ่งเป็นผลมาจากข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ตัดสินใจของกิจการที่จะเลิกจ้างพนักงานก่อนวันออกจากงานตามปกติ
- การตัดสินใจของพนักงานที่จะยอมรับข้อเสนอของผลประโยชน์เพื่อแลกเปลี่ยนกับการเลิกจ้าง
- หลักการรับรู้ผลประโยชน์พนักงาน
ประเภทผลประโยชน์ |
การรับรู้ตาม TAS 19 |
ผลประโยชน์ระยะสั้น |
รับรู้เมื่อจ่ายค่าตอบแทน |
ผลประโยชน์หลังออกจากงาน |
รับรู้ตั้งแต่ให้บริการหลังออกจาก |
ผลประโยชน์ระยะยาวอื่น |
รับรู้ตั้งแต่ให้บริการหลังออกจากงาน |
ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง |
รับรู้เมื่อพนักงานออก รับรู้เมื่อประกาศแผนที่ยกเลิกไม่ได้ |
- การวัดมูลค่าเกี่ยวกับผลประโยชน์พนักงาน
การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า มูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ที่กำหนดไว้และต้นทุนบริการปัจจุบัน ต้องใช้วิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณไว้ (The projected unit credit method) ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย