มุมมองวิศวกรรมต่อธุรกิจประปากับทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศ: กรณี การประปานครหลวง
pdf

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์เพื่อเสนอมุมมองวิศวกรรมต่อธุรกิจประปากับทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ใน 2 ประเด็น คือ 1) ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจประปากับทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างวิศวกรรมธรณีกับทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

เนื้อหา

คำถามสำคัญทำไม การประปานครหลวง ต้องเข้าใจเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ (Intellectual Property and International Trade)

ไม่ใช่เพียงแค่รู้ว่า “ทรัพย์สินทางปัญญา” เป็นเพียงการคุ้มครองการประดิษฐ์ คิดค้น หรือการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยี หรือ “การค้าระหว่างประเทศ” เป็นเพียงการที่แต่ละประเทศนำสินค้าและบริการที่ผลิตได้ ส่งไปขายยังต่างประเทศ รวมทั้ง วิศวกร ไม่ใช่แค่ทำงานทางวิศวกรรม แต่ต้องใช้ความรู้ และพัฒนาความสามารถและทักษะให้หลากหลาย (Multi Skills) ในการวิจัย พัฒนา นวัตกรรมองค์กราและในการดำเนินธุรกิจให้มีความเจริญก้าวหน้าด้วย

จึงจำเป็นต้องศึกษาเพื่อทำความเข้าใจเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมดำเนินงานธุรกิจประปาได้อย่างมีประสิทธิภาพในสภาวะการเปลี่ยนแปลงอย่างท้าทาย

รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์

เพื่อเสนอมุมมองวิศวกรรมต่อธุรกิจประปากับทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ใน 2 ประเด็น คือ 1) ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจประปากับทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างวิศวกรรมธรณีกับทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

การศึกษาจะเป็นการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย สินค้า บริการ วิศวกรรม และธรุกิจประปาที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ นำมาวิเคราะห์อภิปรายผลในเชิงความสัมพันธ์

ประเด็นที่ 1

พบว่า ธุรกิจประปาของการประปานครหลวงมีเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างมากกับทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ตามวัตถุประสงค์ 3 ข้อในกฎหมายจัดตั้งการประปานครหลวง ซึ่งต้องมีการก่อสร้างระบบผลิตน้ำและวางท่อน้ำเพื่อจำหน่ายน้ำ บริการ และบำรุงรักษา ซึ่งมีการใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีสูงจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ และในอดีตการประปานครหลวงเคยทำการค้ากับประเทศลาว เช่น จัดทำแผนแม่บทระบบผลิตน้ำและเป็นที่ปรึกษางานก่อสร้างระบบผลิตน้ำ จึงมีความสัมพันธ์กับทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

ประเด็นที่ 2

พบว่า วิศวกรรมธรณีซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของวิศวกรรมศาสตร์มีความสัมพันธ์กับทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศอย่างมาก โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องในการใช้องค์ความรู้พื้นฐานและกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์และวิศวกรรมธรณี เช่น การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ในเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม เช่น สินค้าและบริการที่เกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านวิศวกรรม, เคมีเทคนิค, ไฟฟ้า, ฟิสิกส์, ปิโตรเคมี, วิศวกรรมเคมี หรือสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้านอาคารและอุปกรณ์วิศวกรรมโยธา และอื่นๆ เป็นต้น

บทสรุป

มุมมองวิศวกรรมต่อธุรกิจประปากับทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นมุมมองสำคัญที่เน้นการวิจัย ค้นคว้า พัฒนา นวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างเป็นระบบทางวิศวกรรม เริ่มตั้งแต่กระบวนการคิดสร้างสรร สำรวจ ออกแบบ และสร้างเป็นสิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการต่างๆ การทดสอบใช้งานหรือทดลองตลาดที่อาจต้องการความคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิทางศาสตร์ เป็นต้น เพื่อนำมาใช้งานเชิงสังคมหรือการค้าขายสินค้าและบริการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ธุรกิจประปามีความสามารถในการแข่งขันสูง ผลลัพธ์ที่สำคัญคือ ได้พัฒนาคน (พนักงาน) ให้มี Basic knowledge และ Critical thinking เพื่อไปสร้างแรงขับเพิ่มมูลค่าองค์กรให้การประปานครหลวงมีความเจริญเติบโตและยั่งยืนต่อไป

 

รายละเอียดในบทคัดย่อ และรายงานไฟล์แนบมาพร้อมนี้

 

 


ผู้สอน :
ผู้เรียน :
ผลการเรียนรู้ :