การพัฒนาและปรับปรุงศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ กปน. สู่ต้นแบบการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐในยุคดิจิทัล
pdf

สรุปบทเรียนวิธีปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ (Executive Summary)

1. สรุปบทเรียนวิธีปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ (Executive Summary) 

การประปานครหลวง (กปน.) ได้รับรางวัลศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการโดดเด่น ประเภท “โล่เงิน” (ระดับดีมาก) ซึ่งถือเป็นรางวัลสูงสุดของการประกวดในปี 2567 นับเป็นปีที่ 6 ติดต่อกันที่ กปน. ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ ความสำเร็จดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ กปน. ในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ด้วยหลักการ ความโปร่งใส ความเป็นธรรม และการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โดย กปน. มีการรักษามาตรฐานการให้บริการที่สม่ำเสมอ พร้อมพัฒนาระบบบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภายในตามหลักธรรมาภิบาล

“การประกวดศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการโดดเด่น ประจำปี 2567” กปน. นำแนวทางการดำเนินงาน (PROCESS) ด้วยการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) มาประยุกต์ใช้ผ่านโมเดล Double Diamond (4D) ซึ่งประกอบด้วย:

1. Discover วิเคราะห์ผลการประเมินศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ กปน. ในปีที่ผ่านมา ศึกษาผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการผู้ตรวจประเมินศูนย์ข้อมูลข่าวสาร เพื่อนำมาถอดบทเรียนและค้นหาประเด็นที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม รวมถึงศึกษาเกณฑ์การประเมินของปีนั้น ๆ ควบคู่ไปด้วย 

2. Define มุ่นเน้นไปที่หัวข้อการประเมินศูนย์ข้อมูลฯ ที่ กปน. ยังไม่ได้คะแนน นำมาวิเคราะห์ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น และศึกษาดูงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารแห่งอื่นที่มีผลงานโดดเด่น เพื่อหาข้อมูลมาปิด gap คะแนนให้ได้มากที่สุด 

3. Develop สร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากร กปน. ระดมสมอง แชร์ไอเดีย ผ่านการประชุมคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของ กปน. ในขั้นตอนนี้ได้มุมมอง และข้อมูลจากกรรมการทุกสายงานของ กปน. ซึ่งมีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันมาร่วมกันออกแบบแนวทางพัฒนา

4. Deliver นำข้อมูลที่ผ่านการตกผลึกในการประชุมคณะกรรมการไปปรับปรุงศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ กปน. พร้อมทั้งนำความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ และแนวทางที่ดีของหน่วยงานอื่นที่ได้ไปศึกษาดูงานมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ กปน. จากนั้นจัดทำข้อมูลที่สมบูรณ์ส่งประกวดศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการต่อไป 

จากกระบวนการดังกล่าว กปน. ไม่เพียงแต่สามารถรักษาระดับมาตรฐานไว้ได้อย่างต่อเนื่อง แต่ยังยกระดับการดำเนินงานสู่ความยั่งยืน และเป็นต้นแบบของการบริหารศูนย์ข้อมูลข่าวสารที่มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบได้

สภาพแวดล้อมทั่วไปของบุคคล หน่วยงาน องค์กร ภูมิประเทศ ฯลฯ /การวิเคราะห์สภาพปัญหาและปัจจัยส่งเสริมให้เกิดแนวทางการปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ

2.สภาพแวดล้อมทั่วไปของบุคคล หน่วยงาน องค์กร ภูมิประเทศ ฯลฯ / การวิเคราะห์สภาพ ปัญหาและปัจจัยส่งเสริมให้เกิดแนวทางการปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ 

สภาพแวดล้อมทั่วไป

กปน. เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ที่มีภารกิจหลักในการผลิตและจัดจำหน่ายน้ำประปาให้กับประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ตามพระราชพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนได้ทราบ ได้เข้าดู หรือขอสำเนาข้อมูลที่เปิดเผยได้ ซึ่งประกอบด้วยมาตรา 3 มาตรา ได้แก่ มาตรา 7 การส่งข้อมูลข่าวสารลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ประกอบด้วย โครงสร้างและการจัดการ สรุปอำนาจหน้าที่ ที่สำคัญ สถานที่ติดต่อของหน่วยงาน ข้อบังคับ คำสั่ง และระเบียบต่าง ๆ เป็นต้น มาตรา 9 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใน ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน ประกอบด้วย นโยบาย แผนงาน งบประมาณ และมติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย เป็นต้น นอกจากข้อมูลข่าวสารของราชการ ตามมาตรา 7 และตามมาตรา 9 แล้ว หากบุคคลใดขอข้อมูลข่าวสารอื่น มาตรา 11ระบุให้หน่วยงานของรัฐจัดหาข้อมูลข่าวสารและเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามที่ประชาชนร้องขอภายในเวลาอันสมควร ดังนั้น จึงจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ กปน. ขึ้น เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้

 

 

1.png

 

 

สภาพสังคมในยุคดิจิทัล ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส ส่งผลให้ กปน. จำเป็นต้องพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกหน่วยงานภายในองค์กร เพื่อให้สามารถอัปเดตข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง ผ่านช่องทางออนไลน์ที่เข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และตรงตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 การดำเนินการดังกล่าวไม่เพียงแต่เป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นในการบริหารงานด้วย ความโปร่งใส แต่ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของ กปน. ได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่เว็บไซต์ https://infocenter.oic.go.th/การประปานครหลวง

ภายใต้ความคาดหวังของประชาชนในเรื่องคุณภาพ ความโปร่งใส และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานรัฐ การส่งศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ กปน. เข้าร่วมประกวดในโครงการ “ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการโดดเด่น” จึงถือเป็นการรับรองว่า กปน. ดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล พร้อมเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจสอบได้อย่างต่อเนื่อง

การวิเคราะห์สภาพปัญหาและปัจจัยส่งเสริม

1. การวิเคราะห์สภาพปัญหา

  • ความซับซ้อนของข้อมูลภายในองค์กร
    ภายใน กปน. มีหน่วยงานที่รับผิดชอบหลากหลายด้าน และแตกต่างกันไป ทำให้ข้อมูลกระจัดกระจายและยากต่อการรวบรวมเพื่อเปิดเผยอย่างครบถ้วน
  • ความเข้าใจต่อ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ยังไม่ทั่วถึง
    บุคลากรบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของข้อมูลที่ต้องเปิดเผย และขั้นตอนตามกฎหมาย ทำให้มีความล่าช้าในการดำเนินการเปิดเผยข้อมูลตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 จึงได้จัดอบรมให้แก่พนักงาน กปน. เป็นประจำทุกปี
  • 2.png

  • ข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีในบางช่วงเวลา
    ระบบ IT และฐานข้อมูลที่ใช้จัดเก็บข้อมูลยังต้องได้รับการปรับปรุง เพื่อรองรับการเปิดเผยข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านแฟลตฟอร์มออนไลน์ กปน. ใช้ Google Drive ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

3.png

 

4.jpg

  • ความคาดหวังที่สูงขึ้นจากประชาชน
    ประชาชนในยุคดิจิทัลต้องการเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็ว โปร่งใส และเข้าใจง่าย ซึ่งสร้างแรงกดดันให้องค์กรต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา

2.ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดแนวทางการปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ 

  • กรอบกฎหมายและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน
    การมีพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เป็นกรอบในการดำเนินงาน ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบข้อมูลภาครัฐอย่างมีมาตรฐาน ทั้งนี้ กปน. ได้มีการจัดทำมาตรฐานในการปฏิบัติงานด้านข้อมูลข่าวสารให้แก่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของ กปน. และผู้ปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ กปน.

5.jpg

6.jpg

7.png

 

8.png

  • การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงของ กปน.
    ผู้บริหารของ กปน. ให้ความสำคัญกับความโปร่งใสและยึดหลักธรรมาภิบาล จึงผลักดันให้ศูนย์ข้อมูลข่าวสารได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
  • การมีคณะกรรมการข้อมูลข่าวของ กปน.
    การแต่งตั้งคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของ กปน. พร้อมทั้งกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน โดยมีตัวแทนทุกสายงาน ทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อเสนอแนะเป็นไปอย่างราบรื่น เกิดความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม
  • การใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
    ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาอย่างรอบด้าน สร้างสรรค์แนวทางแก้ไข และพัฒนาการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ กปน. ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • การเรียนรู้จากศูนย์ข้อมูลข่าวสารแห่งอื่นและผลการประเมินย้อนหลัง
    ทำให้ กปน. สามารถปรับปรุงแนวทางปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้นและตอบโจทย์เกณฑ์การประเมินได้อย่างต่อเนื่อง

สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ความคาดหวังของประชาชน และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ได้หล่อหลอมให้ กปน. สามารถพัฒนาแนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการบริหารศูนย์ข้อมูลข่าวสารได้อย่างเป็นระบบ เป็นธรรม โปร่งใส และยั่งยืน จนสามารถรักษาคุณภาพการดำเนินงานและคว้ารางวัลระดับสูงได้ต่อเนื่อง

3.การอ้างอิงความรู้จาก KM TANK / IDEA TANK หรือแหล่งอื่น วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นการสร้างแนวคิดใหม่

1. ชื่อองค์ความรู้ :  Best Practice ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของการประปานครหลวง

2. ชื่อองค์ความรู้ : การทบทวนแนวทางการส่งศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ กปน. เข้าชิงรางวัลศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการโดดเด่น ปี 2567

3. ชื่อองค์ความรู้ : ข้อมูลเปิดเผยได้ vs ข้อมูลเปิดเผยไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

4 . ชื่อองค์ความรู้ : แนวทางการดำเนินงานด้านศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ กปน. จนสามารถคว้ารางวัลศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการโดดเด่นต่อเนื่องติดต่อกันหลายปีซ้อน

5. ชื่อองค์ความรู้ : แผนวิสาหกิจการประปานครหลวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2566-2570) ฉบับทบทวน มิถุนายน 2567/แหล่งที่มาขององค์ความรู้ 

แผนวิสาหกิจการประปานครหลวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2566-2570) ฉบับทบทวน มิถุนายน 2567

 

6. ชื่อองค์ความรู้ : คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของการประปานครหลวง ประจำปี 2567

วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นการสร้างแนวคิดใหม่ : ต่อยอดจากความรู้ทั้ง 6 เรื่อง จะได้แนวคิดใหม่ดังนี้ 

แนวคิดใหม่ “ศูนย์ข้อมูลข่าวสารแบบเชิงรุก” คือ การพัฒนาศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ กปน. ก้าวข้ามจาก "การเปิดเผยข้อมูลตามหน้าที่" ไปสู่ "การเปิดเผยข้อมูลเชิงรุก” โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลง่ายขึ้น สะดวกขึ้น และเป็นข้อมูลเปิดเผยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

จากเดิม: “ศูนย์ข้อมูลที่คนต้องเดินเข้ามาถาม” สู่อนาคต: “ศูนย์ข้อมูลที่เปิดเผยให้คนเห็นก่อน เข้าถึงง่าย ด้วยเทคโนโลยี”

จุดเด่นของแนวคิดใหม่

เน้นเชิงรุก – ไม่รอให้ประชาชนมาขอข้อมูล แต่เตรียมและเผยแพร่ข้อมูลที่ประชาชนควรรู้ล่วงหน้า

ใช้เทคโนโลยี – เช่น เว็บไซต์, แพลตฟอร์มออนไลน์, ระบบจัดการข้อมูลด้วย AI

เข้าถึงง่าย – คนทั่วไปไม่ต้องมีความรู้ทางเทคนิค ก็เข้าใจข้อมูลได้ง่าย

ความปลอดภัยตามกฎหมาย – แยกข้อมูลเปิดเผยได้/ไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้อย่างถูกต้อง

เชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติงานขององค์กร – ทำให้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา กปน. อย่างยั่งยืน

4.ผลงานสอดคล้อง/สนับสนุนตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ 

จากผลงาน “การพัฒนาและปรับปรุงศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ กปน. สู่ต้นแบบการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐในยุคดิจิทัล” แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาองค์กร โดยมีการบริหารจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประกอบการตัดสินใจ เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และพัฒนาระบบงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบบริหารคลังพัสดุ ให้ตอบสนองต่อแนวคิด องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven Organization)

ผลงานนี้สนับสนุน:

  • วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 2 (SO2) – Adaptive Organization ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการปรับตัวและนำนวัตกรรมดิจิทัลมาบูรณาการการทำงาน ส่งเสริมการทำงานที่มีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยี เช่น การใช้ Google Drive ในการจัดเก็บและอัปโหลดข้อมูล พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารแบบเชิงรุก ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล สนับสนุนให้ กปน. ปรับเปลี่ยนสู่ องค์กรดิจิทัลที่มีความยืดหยุ่นและทันสมัย
  • วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 3 (SO3) – Sustainable Partnership สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยธรรมาภิบาลและความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลงานชิ้นนี้มีบทบาทสำคัญในการสร้างภาพลักษณ์องค์กรที่โปร่งใส มีธรรมาภิบาล และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สร้างความพึงพอใจและความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในด้านการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ ยกระดับคุณภาพการสื่อสารกับสาธารณะ เสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรที่มีความรับผิดชอบและไว้วางใจได้ สนับสนุนเป้าประสงค์ในการ “ยกระดับความพึงพอใจของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” อย่างเป็นรูปธรรม

9.jpg

 

 

                                                                      วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตามแผนวิสาหกิจการประปานครหลวง ฉบับที่ 

10.png

11.png

แนวทางการดำเนินการ (Processes) แสดงให้เห็นขั้นตอนที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นเลิศ (ผู้นำ กลยุทธ์ แผนงานกลุ่มเป้าหมาย ลูกค้า สารสนเทศ บุคคลากร กระบวนการปฏิบัติงานจริง แผนบริหารความเสี่ยง กฎความปลอดภัย องค์ความรู้เทคนิคที่ส่งผลความเป็นเลิศของกระบวนการ ฯลฯ)

 

แนวทางการดำเนินการ (Processes) แสดงให้เห็นขั้นตอนที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นเลิศ (ผู้นำ กลยุทธ์ แผนงานกลุ่มเป้าหมาย ลูกค้า สารสนเทศ บุคคลากร กระบวนการปฏิบัติงานจริง แผนบริหารความเสี่ยง กฎความปลอดภัย องค์ความรู้เทคนิคที่ส่งผลความเป็นเลิศของกระบวนการ ฯลฯ)

5.อธิบายถึงแนวทางการดำเนินการ (Process) ที่แสดงให้เห็นขั้นตอน และการนำองค์ความรู้/เทคนิคมาปรับใช้เพื่อส่งผลให้กระบวนการมีผลลัพธ์ที่เป็นเลิศ

การพัฒนาและปรับปรุงศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ กปน. สู่ต้นแบบการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐในยุคดิจิทัล” มีแนวทางการดำเนินงาน (PROCESS) ด้วยกระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) โดยยกโมเดล Double Diamond หรือ 4D มาใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้

1.Discover วิเคราะห์ผลการประเมินศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ กปน. ในปีที่ผ่านมา

ขั้นตอนแรกของการจัดทำข้อมูลข่าวสารส่งเข้าประกวด เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ผลการประเมินศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ กปน. ในปีที่ผ่านมา ศึกษาผลการประเมินของคณะกรรมการที่ตรวจประเมิน  เพื่อนำมาถอดบทเรียนและค้นหาประเด็นที่ กปน. ยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามเกณฑ์ประเมิน หรือยังสามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้ รวมถึงศึกษาเกณฑ์การประเมินของปีนั้น ๆ ควบคู่ไปด้วย 

1.1 จัดทำหนังสือขอทราบคะแนนประเมินศูนย์ข้อมูลของ กปน.

12.png

 

1.2 ศึกษาเกณฑ์การประเมินของปีนั้น ๆ

 

13.png

14.png

2. Define มุ่นเน้นไปที่หัวข้อการประเมินศูนย์ข้อมูลฯ ที่ กปน. ยังไม่ได้คะแนน

เมื่อได้รับผลการประเมินจากคณะกรรมการฯ แล้ว นำมาวิเคราะห์ตามหัวข้อตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ที่ กปน. ยังไม่ได้คะแนน เพื่อหาข้อมูลมาปิด gap คะแนนให้ได้มากที่สุด โดยแบ่งการยกระดับคะแนนตามเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ เกณฑ์มาตรฐาน และเกณฑ์ขั้นสูง พร้อมทั้งกำหนดผู้รับผิดชอบ โดยอ้างอิงตามผู้ครอบครองข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น และศึกษาดูงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารแห่งอื่นที่มีผลงานโดดเด่น เพื่อหาข้อมูลมาปิด gap คะแนนให้ได้มากที่สุด โดยขอคำแนะนำ หรือตัวอย่างการปฏิบัติตามเกณฑ์ในหัวข้อที่ กปน. ยังไม่ได้คะแนน

2.1 ตัวอย่างผลการประเมินจากคณะกรรมการฯ

 

15.jpg

 

2.2 วิเคราะห์ตามหัวข้อตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ที่ กปน. ยังไม่ได้คะแนน เพื่อหาข้อมูลมาปิด gap คะแนนให้ได้มากที่สุด โดยแบ่งการยกระดับคะแนนตามเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ เกณฑ์มาตรฐาน และเกณฑ์ขั้นสูง พร้อมทั้งกำหนดผู้รับผิดชอบ โดยอ้างอิงตามผู้ครอบครองข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

 

15.jpg

2.3 ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น และศึกษาดูงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารแห่งอื่นที่มีผลงานโดดเด่น เพื่อหาข้อมูลมาปิด gap คะแนนให้ได้มากที่สุด 

 

17.png

คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของ กปน. ศึกษาดูงานศูนย์ข้อมูลข่าวสาร กสทช. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2568

3. Develop สร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากร กปน. ระดมสมอง แชร์ไอเดีย

สร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากร กปน. ระดมสมอง แชร์ไอเดีย ผ่านการประชุมคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของ กปน. ในขั้นตอนนี้ได้มุมมอง และข้อมูลจากกรรมการทุกสายงานของ กปน. ซึ่งมีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันมาร่วมกันออกแบบแนวทางพัฒนา

18.jpg

19.jpg

20.jpg

 

21.jpg

22.png

 

23.png

 

4. Deliver นำข้อมูลที่ผ่านการตกผลึกในการประชุมคณะกรรมการไปปรับปรุงศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ กปน. พร้อมทั้งนำความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ และแนวทางที่ดีของหน่วยงานอื่นที่ได้ไปศึกษาดูงานมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ กปน. จากนั้นจัดทำข้อมูลที่สมบูรณ์ส่งประกวดศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการต่อไป 

 

24.jpg

หลังจากการส่งประกาศศูนย์ข้อมูลข่าวสารแล้ว ยังคงดำเนินงานในการให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่องตลอดปีงบประมาณ จากกระบวนการดังกล่าว กปน. ไม่เพียงแต่สามารถรักษาระดับมาตรฐานไว้ได้อย่างต่อเนื่อง แต่ยังยกระดับการดำเนินงานสู่ความยั่งยืน และเป็นต้นแบบของการบริหารศูนย์ข้อมูลข่าวสารที่มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบได้

ผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ของกระบวนการแสดงข้อมูล/ตัวเลข เชิงเปรียบเทียบ (Benchmark) ก่อน-หลัง การดำเนินงาน และ/หรือ การเปรียบเทียบกับ หน่วยงาน/องค์กรอื่นๆ โดยแสดงถึงความเป็นเลิศของผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ

6.แสดงให้เห็นผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ในการลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ และ/หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เชิงเปรียบเทียบก่อน-หลัง และ/หรือเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่น

 

Output:

  • ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ กปน. มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ครอบคลุม และเข้าถึงได้ง่ายผ่านระบบออนไลน์

 

 

25.jpg

  • จัดแสดงนิทรรศการในงานประกาศรางวัล เพื่อนำเสนอข้อมูลการดำเนินงานของศูนย์ฯ และกระบวนการผลิตน้ำประปา

26.jpg

Outcome:

  • ได้รับรางวัลศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการโดดเด่น ประเภทโล่เงิน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในปี 2567
  • 27.jpg

28.png

  • ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของ กปน. ได้สะดวกมากขึ้น
  • ส่งผลต่อภาพลักษณ์องค์กรในด้านความโปร่งใส
  • สร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กรในการพัฒนาศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ กป

วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ (Key Success Factor)

7. การวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ (Key Success Factor)

  • การบริหารจัดการเชิงระบบ : เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ผลการประเมินศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการของปีที่ผ่านมา กำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ส่งผลให้สามารถปิด gap คะแนน รวมถึงให้บริการศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ กปน. ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ : กปน. ใช้ระบบดิจิทัลและแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อการจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูล
  • การมีส่วนร่วมของบุคลากร: ทุกฝ่ายในองค์กรให้ความร่วมมือในการอัปเดตข้อมูล และเสนอแนะแนวทางการปรับปรุง 

การพัฒนาต่อเนื่อง: รักษาคุณภาพการดำเนินงานและการได้รับรางวัลต่อเนื่อง 6 ปี ถือเป็นผลจากการปรับปรุงอย่างไม่หยุดยั้ง

ข้อเสนอแนะ (Suggestions) /ข้อควรระวังในการนำไปใช้ (Do and Don't)

8.ข้อเสนอแนะ (Suggestions) /ข้อควรระวังในการนำไปใช้ (Do and Don't)

(สามารถประยุกต์ใช้ภายในและข้ามสายงาน)

ข้อเสนอแนะ:

ด้านรูปแบบของข้อมูล ควรขยายรูปแบบการนำเสนอข้อมูลให้มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น รูปแบบ Infographic, VDO หรือ Podcast เพื่อเพิ่มการเข้าถึงของกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย

ด้านบุคลากร ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้กับพนักงานอยู่เสมอ เช่น พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

 

ข้อควรระวังในการนำไปใช้ :

ข้อมูลต้องเป็นปัจจุบันและถูกต้อง ควรเปิดเผยข้อมูลที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ และได้รับการตรวจสอบความถูกต้องแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อนและส่งผลต่อความน่าเชื่อถือขององค์กร

การตีความกฎหมายต้องมีความถูกต้องตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เพื่อไม่ให้เกิดการตีความผิดและนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลที่ไม่เหมาะสม

 

 

การเผยแพร่ผลงาน : ได้เผยแพร่ข้ามสายงานให้กับหน่วยงานในสายงานวิศวกรรม (ส่วนประมาณราคางานก่อสร้างท่อประธาน)

  

 

IMG_5053.JPG

IMG_5059.JPG