"ความยั่งยืน" ที่จับต้องได้ ในปี 2567
pdf

วัตถุประสงค์

ด้วยแนวคิดสำคัญและเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนทั้งหมด ต่างเป็นหัวข้อใหญ่ มีรายละเอียดมาก ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนได้ว่า แล้วโจทย์ "ความยั่งยืน" ของการประปานครหลวง จะต้องทำอย่างไร? การกำกับดูแลกิจการ (CG) และ ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) จะเพียงพอสำหรับการสร้างความยั่งยืน หรือไม่? ไม่มีใครให้คำตอบได้ ลำพังการใช้ กรอบการจัดทำรายงานขององค์กรความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (Global Reporting Initiative - GRI) อาจจะไม่เพียงพอในการสร้างความมั่นใจ

เนื้อหา

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา "ความยั่งยืน" ได้เข้ามามีบทบาทในสังคมโลก ต่อเนื่องมาจนถึงในประเทศไทยและการประปานครหลวง โดยที่ "ความยั่งยืน" หรือ "การพัฒนาที่ยั่งยืน" นั้น องค์การสหประชาชาติได้ให้คำนิยามไว้ว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ การพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนในยุคปัจจุบัน โดยไม่ทำให้การตอบสนองความต้องการของคนรุ่นถัดไปนั้นลดลง มีแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มากมาย แนวคิดสำคัญประกอบด้วย การกำกับดูแลกิจการ (CG) ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) มาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000) เรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) หลักการสากลสิบประการของยูเอ็นโกลบอลคอมแพ็ก (UN Global Compact) กรอบการจัดทำรายงานขององค์กรความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (Global Reporting Initiative - GRI) การสร้างคุณค่าร่วม (CSV) วิสาหกิจเพื่อสังคม (SE) ธุรกิจเพื่อสังคม (SB) และการพัฒนาที่ยั่งยืน (SD) ที่เกิดเป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) อันประกอบด้วย เป้าหมายหลัก 17 ข้อ ได้แก่ 1. ความยากจน 2. ความหิวโหย 3. สุขภาวะ 4. การศึกษา 5. ความเท่าเทียมทางเพศ 6. น้ำและการสุขาภิบาล 7. พลังงาน 8. เศรษฐกิจและการจ้างงาน 9. โครงสร้างพื้นฐานและการปรับให้เป็นอุตสาหกรรม 10. ความเหลื่อมล้ำ 11. เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ 12. แบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน 13. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ 14. ทรัพยากรทางทะเล 15. ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ 16. สังคมและความยุติธรรม 17. หุ้นส่วนความร่วมมือและการปฏิบัติให้เกิดผล ซึ่งมีเป้าหมายและตัวชี้วัด ภายในปี 2030 ที่ต้องบรรลุให้ได้

การประปานครหลวง เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ผลิตและให้บริการเกี่ยวกับน้ำประปาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ มีหน้าที่ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 6: สร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาล ให้มีการจัดการอย่างยั่งยืนและมีสภาพพร้อมใช้ สำหรับทุกคน ตามเป้าหมายย่อย 6.1 บรรลุเป้าหมายการให้ทุกคนเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยและมีราคาที่สามารถซื้อหาได้ โดยที่การประปานครหลวงมีเป้าหมายขยายพื้นที่การจ่ายน้ำให้ครอบคลุมพื้นที่ชุมชนทั้งหมดที่รับผิดชอบ โดยในแต่ละปีจะมีการวางท่อขยายเขตออกไปตามชุมชนที่ขยายตัวออกไปเพื่อตอบสนองตามความต้องการมาได้โดยตลอด ซึ่งมีส่วนช่วยตอบโจทย์ "ความยั่งยืน" ของโลก และของประเทศไทย ได้

ด้วยแนวคิดสำคัญและเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนทั้งหมดที่กล่าวถึงข้างต้น ต่างเป็นหัวข้อใหญ่ มีรายละเอียดมาก ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนได้ว่า แล้วโจทย์ "ความยั่งยืน" ของการประปานครหลวง จะต้องทำอย่างไร? การกำกับดูแลกิจการ (CG) และ ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) จะเพียงพอสำหรับการสร้างความยั่งยืน หรือไม่? ไม่มีใครให้คำตอบได้ ลำพังการใช้ กรอบการจัดทำรายงานขององค์กรความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (Global Reporting Initiative - GRI) อาจจะไม่เพียงพอในการสร้างความมั่นใจ ก็ได้เริ่มมีแสงสว่างขึ้น หลังจากอ่านหลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ปี 2567 รางวัล "การพัฒนาสู่รัฐวิสาหกิจยั่งยืน" โดยรางวัลนี้อยู่ในกลุ่มที่อิงคะแนนประเมินผลงานโดยตรง ซึ่งมีความสำคัญที่ ขั้นตอนที่ 2 (การคัดกรองเชิงคุณภาพ) ที่เริ่มดูที่ การกำหนดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กร (Materiality) ตามกรอบ GRI เพื่อการกำหนดผู้รับผิดชอบในการขับเคลื่อนประเด็นด้านความยั่งยืน กำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนขององค์กร เพื่อขับเคลื่อนประเด็นด้านความยั่งยืนไปสู่การปฎิบัติ และมีรายละเอียดสำคัญอยู่ที่ผลลัพธ์ในมิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติสิ่งแวดล้อม ที่พิจารณาผลประเมิน Core Business Enablers ตามเกณฑ์ SE-AM ที่เกี่ยวข้องด้วย (ตามภาพ)
 

MWA KMA Template Coaching - ศุภโชค ทวีสุข (3)_Page_4.PNG


ซึ่งหาก การประปานครหลวง สามารถเปิดเผยข้อมูลในประเด็นคำถามดังกล่าวได้ ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ มีการวัดผลเป็นตัวเลขได้ ก็จะสามารถพัฒนาได้ ก็จะมั่นใจได้ว่าสามารถแก้โจทย์ "ความยั่งยืน" ของการประปานครหลวง ได้อย่างแน่นอน


ผู้สอน :
ผู้เรียน :
ผลการเรียนรู้ :

อัลบั้มรูปภาพ